ที่ซอมพอ บูติก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ บริษัทไทยเฮมพ์ ซีบีดี 2021 จำกัด แถลงข่าวแผนการช่วยลดปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมด้วยพืชเศรษฐกิจโดยส่งเสริมการปลูกกัญชงสายพันธุ์ของมูลนิธิวนเกษตรอินทรีย์ โดยผ่านการวิจัยและรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาแล้ว ซึ่งเป็นสายพันธุ์กัญชงให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานโรคและแมลง เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมสกัดสารซีบีดี ตามมาตรฐานสากล อย่างถูกต้องตามกฎหมายและนโยบายของรัฐบาล พร้อมลงนามความร่วมมือกัน โดยการปลูกกัญชงหนึ่งไร่มีกำไรสุทธิเท่ากับการปลูกข้าวโพดถึง 80 ไร่
ดร.เสฐียรพงษ์ แก้วสด ซีอีโอบริษัทไทยเฮมพ์เวลเน็ต จำกัด เปิดเผยว่า กิจกรรมวันนี้เราระดมทุนเพื่อสร้างธุรกิจใหม่เรื่องของกัญชง ถือเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่เรียกว่า ทองคำเขียวของไทย ทุกวันนี้มีปัญหาเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อมอย่างมาก พืชเศรษฐกิจตัวใหม่กัญชงสามารถแก้ปัญหาตัวนี้ได้ เพราะมูลค่าของกัญชงมีมูลค่า 6 แสนล้านบาท ภายในปี 2565 นี้ ถามว่ากัญชงเอาไปทำอะไร สามารถเอาไปผลิตยาสมุนไพรอาหารเครื่องดื่มและเครื่องสำอางค์
ขณะนี้้เราได้สร้างโรงงานที่จังหวัดเชียงรายแล้ว ซึ่งมีกำลังผลิตวันละ 10 ตัน ซึ่งผลิตสารซีบีดีบริสุทธิ์ได้ 99.9 เปอร์เซ็นต์ ได้ประมาณวันละ 1 พันลิตร ซึ่งเรามีความพร้อม เริ่มปลูกที่จังหวัดเชียงรายก่อน 6 พันไร่ ขยายไปเฟสสองที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นจังหวัดที่ด้อยโอกาสและมีปัญหาเรื่องหมอกควันไฟป่า วันนี้เราต้องไปช่วยคนแม่ฮ่องสอนฟื้นฟูเศรษฐกิจที่นั้น และแม่ฮ่องสอนมีจุดแข็งคืออยู่อย่างหนึ่ง คือ อยู่บนพื้นที่สูงมีความหนาวเย็นเหมาะแก่การปลูกกัญชง ที่นั้นเราปลูกระบบออแกนิคได้มาตรฐานระดับ USDA หรือกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
ดร.เสฐียรพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยจะส่งสารซีบีดีไปสกัดได้ทั่วโลก ประเทศไทยเองสามารถผลิตได้ทั้งปี แต่ต่างประเทศสามารถผลิตได้ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ตอนนี้กัญชงรัฐบาลถือว่าเป็นพืชปลดล๊อค แต่ยังเป็นพืชควบคุมอยู่ เพราะฉะนั้นเราต้องส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เกษตรกรทั่วไป เป็นผู้ผลิตให้ทางเราอยู่แล้ว มีการรวมกลุ่มกันกลุ่มหนึ่งไม่ต่ำกว่า 50 ไร่ เกษตรกรคนหนึ่งดูแลกัญชงได้ 2 ไร่ต่อคน มีรายได้ต่อครัวเรือนประมาณปีละ 1 ล้านบาท ซึ่งสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้
“ทางประเทศไทยเองมีศักยภาพค่อนข้างสูงมาก เพราะประเทศไทยเองสามารถนำสารตัวนี้ไปผสมอาหารเครื่องดื่ม และสามารถส่งออกได้แล้ว ในปี 2564 นี้เราจะผลิตสารซีบีดีได้ใน้เดือนสิงหาคมนี้ และจะส่งออกได้ช่วงปลายปี สำหรับกำลังการผลิตเราจะผลิตได้วันละ 10 ตันของกัญชงแห้ง หรือซีบีดี ประมาณ 1 ตัน ปีนี้คาดว่าจะได้เม็ดเงินประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และตั้งเป้าไว้ได้อันดับ 1 ของโลก โดยตั้งเป้าไว้ 8 หมื่นล้านบาทต่อปี” ดร.เสฐียรพงษ์ กล่าว
ตั้ง MSN เป็นโฮมเพจของฉัน
-
เพียงคลิกที่ปุ่มเรียกใช้ที่ด้านล่างสุดในเบราว์เซอร์ของคุณ
หากคุณคลิกเพื่อเรียกใช้ไฟล์ดาวน์โหลดนี้ จะถือว่าคุณยอมรับข้อตกลงการให้บริการและคำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Microsoft การติดตั้งนี้ใช้ได้กับ Internet Explorer, Firefox, Chrome และ Safari
การดาวน์โหลดไม่เริ่มต้นใช่หรือไม่ ลองอีกครั้ง