วันเสาร์ที่ 21 กันยายน 2024

โควิด-19 : ทวิตภพวิจารณ์สนั่น ทหารพรานฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อชายแดน – บีบีซีไทย

ทหารพรานฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด

ที่มาของภาพ, กรมทหารพรานที่36

คำบรรยายภาพ,

กรมทหารพรานที่ 36 เผยแพร่ภาพการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 บริเวณชายแดน จ.แม่ฮ่องสอน

กรมประชาสัมพันธ์ได้ลบโพสต์ทางทวิตเตอร์ที่นำเสนอภาพทหารพรานเข้าไปฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 บริเวณพื้นที่ป่าแถบชายแดน จ.แม่ฮ่องสอน หลังจากมีผู้คนจำนวนมากออกมาตั้งคำถามและวิจารณ์อย่างดุเดือดว่าเป็นการกระทำที่จำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์จริงหรือไม่

โพสต์ดังกล่าวของกรมประชาสัมพันธ์ เผยให้เห็นภาพเจ้าหน้าที่จากกรมทหารพรานที่ 36 ในชุดป้องกันเชื้อส่วนบุคคล หรือพีพีอี ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตามพื้นที่ป่าและริมฝั่งแม่น้ำ 5 จุด คือ 1) อุทยานแห่งชาติแม่แต๊ะหลวง 2) พื้นที่ห้วยสบแงะ ตรงข้ามพื้นที่พักพิงฯ อูแวโกร 3) พื้นที่ห้วยอูมปะ ตรงข้ามพื้นที่พักพิงฯ อีทูโกร 4) พื้นที่อุทยานแห่งชาติสาละวินท่าตาฝั่ง 5) พื้นที่ฝั่งน้ำสาละวิน โดยระบุว่าเป็นมาตรการเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 และโรคติดต่ออื่น ๆ หลังจากผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมาได้เข้ามาพักอาศัยชั่วคราว และปัจจุบันได้เดินทางกลับภูมิลำเนาไปแล้ว

ที่มาของภาพ, prd กรมประชาสัมพันธ์

โพสต์ดังกล่าว ถูกรีทวิตไปอย่างแพร่หลาย และมีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมายถึงความจำเป็น ประสิทธิภาพ และงบประมาณที่ใช้ ซึ่งพวกเขามองว่าเป็นการ “ตำนํ้าพริกละลายแม่น้ำ” แทนที่จะทำการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่อื่นที่มีความเสี่ยงการแพร่เชื้อมากกว่า เช่นในเขตชุมชนแออัด

ผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งถามว่า “ใช้งบในการฆ่าเชื้อเท่าไหร่คะ ฉีดเป็นวงกว้างขนาดเท่าไหร่ กี่ กม. ตร.ม.? หรือว่าถ่ายรูปเสร็จแล้วกลับ ได้ประสิทธิภาพจริงมั้ย…”

ขณะที่อีกคนตั้งคำถามว่า “ถามจริง ๆ ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนดำเนินการไหมครับ…เสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ ขอร้องเถอะในภาวะวิกฤติแบบนี้ถ้าไม่รู้ว่าจะทำอะไรเพื่อชาติได้ขอให้อยู่เฉย ๆ ดีกว่าล้างผลาญเงินแผ่นดินแบบนี้”

หลังจากมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ในเวลาประมาณ 19.20 น. โพสต์ดังกล่าวได้หายไปจากทวิตเตอร์ของกรมประชาสัมพันธ์

ก่อนหน้านี้ เว็บไซต์ข่าวของ สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า พ.อ. สมรรถชัย แปงสาย ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 มอบหมายให้กองร้อยทหารพรานที่ 3604 จัดกำลังพลนายสิบพยาบาล เข้าดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยี่ห้อ HERMES PLUS 99.90% ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก โรงพยาบาลแม่สะเรียง เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 และโรคติดต่ออื่น ๆ ใน 5 พื้นที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ถูกจัดเป็นพื้นที่รองรับผู้หนีภัยความไม่สงบชาวเมียนมา ที่ได้ขอเข้ามาพักอาศัยเป็นพื้นที่ปลอดภัยชั่วคราว หลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบในฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้มีราษฎรบางส่วนอพยพข้ามมายังฝั่งไทย แต่ในขณะนี้ได้เดินทางกลับไปยังสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาด้วยความสมัครใจทั้งหมดแล้วแล้ว

“การดำเนินการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสโควิด-19 ในครั้งนี้ เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแม่ฮ่องสอน” เว็บไซต์ระบุ

ที่มาของภาพ, กรมทหารพรานที่36

คำบรรยายภาพ,

กรมทหารพรานที่ 36 เผยแพร่ภาพการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 บริเวณชายแดน จ.แม่ฮ่องสอน

นักวิทยาศาสตร์ชี้ไร้ประโยชน์

โดยเขาระบุว่า การเอาสารเคมียาฆ่าเชื้อ มาฉีดพ่นตามถนน ตามที่สาธารณะ ด้วยความที่เชื่อกันว่าป้องกันโรคโควิด-19 ได้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลอะไรในการควบคุมโรค (แหล่งแพร่เชื้อโรคคือร่างกายของผู้ที่ติดเชื้อ ควรควบคุมตรงการคลุกคลีกันระหว่างผู้คนมากกว่า ) ก็ยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะเชื้อไวรัสสามารถตายได้โดยไม่ยาก ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงและแสงแดดจัด

ที่สำคัญยังทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าป้องกันโรคได้ และทำให้คนในชุมชนอาจไม่ระมัดระวังตนเองเพียงพอ หลังจากเคยมีการฉีดพ่นสารฆ่าเชื้อไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีอันตรายแก่ประชาชนและสัตว์เลี้ยงที่สูดดมหรือสัมผัสสารเคมีเข้าไปได้ด้วย

ที่มาของภาพ, กรมทหารพรานที่36

คำบรรยายภาพ,

กรมทหารพรานที่ 36 เผยแพร่ภาพการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโควิด-19 บริเวณชายแดน จ.แม่ฮ่องสอน

รศ.ดร.เจษฎา แนะนำว่า วิธีการที่ดีที่สุดในการควบคุมโรคโควิด-19 คือ การควบคุมระยะห่างทางสังคม ลดกิจกรรมที่จะมีการรวมกลุ่มของผู้คน และดูแลสุขอนามัยในการอยู่ร่วมกัน

พร้อมกันนี้ เขายังโพสต์คำเตือนจากสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยที่เคยออกแถลงการณ์เตือนเมื่อปีที่แล้ว ว่าไม่แนะนำให้ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนร่างกาย บนท้องถนน บ้านเรือน และพื้นที่สาธารณะ เพราะไม่ช่วยลดการติดเชื้อโควิด-19 เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ แต่กลับเพิ่มความเสี่ยงหากมีสารคัดหลั่งที่ตกค้างการฉีดพ่นน้ำยา จะยิ่งทำให้เชื้อฟุ้งกระจายเป็นอันตรายได้

อ่านคำแนะนำเรื่องการทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมในชุมชนเมื่อพบผู้ป่วยยืนยันหรือสงสัยเป็นโรคโควิด-19 ของสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยได้ ที่นี่

แม่ฮ่องสอน

แม่ฮ่องสอน

หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

No Content Available

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.