ผู้สื่อข่าวรายงาน ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ต.ค. นี้ เป็นต้นไป มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้งบประมาณรายจ่ายงบกลาง 587,409,336,900 บาท ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประมาณ 16,362 ล้านบาท งบประมาณสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกำกับประมาณ 24,260 ล้านบาท งบประมาณกระทรวงกลาโหม งบประมาณ 92,753 ล้านบาท กระทรวงการคลังกว่า 10,948 ล้านบาท กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2,835 ล้านบาท กระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 21,411 ล้านบาท
ทั้งนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับจัดสรรกว่า 45,119 ล้านบาท โดยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงราย ได้รับงบ กว่า 219 ล้านบาท ,มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประมาณ 219 ล้านบาท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประมาณ 1,197 ล้านบาท, มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กว่า 394 ล้านบาท เป็นต้น
งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 34,684 ล้านบาท กระทรวงคมนาคม กว่า57,154 ล้านบาท
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 3,821 ล้านบาท ,กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11,235 ล้านบาท ,กระทรวงพลังงานกว่า 1,873 ล้านบาท กระทรวงพาณิชย์ 3,601 ล้านบาท สำหรับกระทรวงมหาดไทยได้รับจัดสรร 259,593,878,500 บาท โดยมีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้งบมากสุด รวม 218,049,303,900 บาท กระทรวงยุติธรรม 11,803 ล้านบาท, กระทรวงแรงงาน 45,732 ล้านบาท, กระทรวงวัฒนธรรม 4,288 ล้านบาท, กระทรวงศึกษาธิการ ประมาณ 117,927 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุข 37,543 ล้านบาท ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวง และหน่วยงานภายใต้การควบคุมดูแลของนายกรัฐมนตรี ประมาณ 37,303 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ วงเงินกว่า 61,944 ล้านบาท อาทิ การกีฬาแห่งประเทศไทย ประมาณ 1,115
ล้านบาท ,องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย 526 ล้านบาท หน่วยงานของรัฐสภา 3,673 ล้านบาท หน่วยงานของศาล ประมาณ 7,914 ล้านบาท
หน่วยงานขององค์กรอิสระและองค์กรอัยการ ประมาณ 5,364 ล้านบาท เช่น จัดสรรให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ราวๆ 311 ล้านบาท ในขณะที่งบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ได้รับประมาณ 17,411 ล้านบาท ซึ่งจังหวัดและกลุ่มจังหวัดใน พื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 (เชียงใหม่,ลำพูน,ลำปางและแม่ฮ่องสอน) จำนวน 769,265,900 บาท กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน1 จะได้รับประมาณ 88 ล้านบาท โดย จ.เชียงใหม่ได้ประมาณ 302,517,100 บาท จ.ลำปางกว่า 151 ล้านบาท,ลำพูนประมาณ 155 ล้านบาท มาตรา 33 ของ พรบ.งบประมาณฯ นี้ ยังระบุงบประมาณรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประมาณ 76,410 ล้านบาท เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ รวม21,849,273,100 บาท โดยกรุงเทพมหานคร ได้รับกว่า 20,235ล้านบาท ,เมืองพัทยา
ประมาณ 1,613 ล้านบาท
องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รวม 15,187,191,400 บาท แยกเป็น อบจ.ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 ประ
มาณ 650 ล้านบาท ซึ่ง อบจ.เชียงใหม่ได้ 265 ,536,500 บาท, อบจ.แม่ฮ่องสอน 129,846,900 บาท เป็นต้น
ส่วนเทศบาลนคร กว่า 13,643 ล้านบาทนั้นเทศบาลนครในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 ได้รวม957,529,600
เทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ประมาณ 584 ล้านบาท เทศบาลเมือง รวม25,730 ล้านบาทในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 1 ได้รวม 836 ล้านบาท เทศบาลเมืองในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เทศบาลเมืองต้นเปา ได้รับจัดสรร แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ประมาณ 60 ล้านบาทเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา ประมาณ 77 ล้านบาท, เทศบาลเมืองแม่โจ้ ประมาณ 71 ล้านบาท, เทศบาลเมืองแม่เหียะกว่า 60 ล้านบาท ส่วน เทศบาลเมืองลำพูน ได้ประมาณ 165 ล้านบาท
นอกจากนั้น พรบ.งบประมาณ ปี 2565 ยังระบุงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการในพระองค์ ประมาณ8,761 ล้านบาทงบประมาณรายจ่ายสำหรับแผนงานบูรณาการ ประมาณ 204,179 ล้านบาท ซึ่งจะจัดสรรให้แต่ละหน่วยงานด้วย เช่น กระทรวงมหาดไทย รวม 507 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการ ประมาณ 88 ล้านบาท แผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ประมาณ 617 ล้านบาท ที่น่าสนใจอีกด้านคืองบประมาณรายจ่ายสาหรับแผนงานบุคลากรภาครัฐ วงเงินรวม 770,159,975,000 บาทนั้น เป็นงบกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานในกำกับ ประมาณ 105,034 ล้านบาท มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประมาณ 454 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย ประมาณ 46,946 ล้านบาท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประมาณ 1,433 ล้านบาท,สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กว่า 80,750 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประมาณ 1,396 ล้านบาท สำหรับแผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐวงเงิน กว่า 297,631 ล้านบาท เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย ประมาณ 10,232 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ให้ตั้งเป็นจำนวน กว่า 24,978 ล้านบาท