2 ก.ค.64 – เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6,087 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 5,869 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 3,905 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 1,964 ราย มาจากเรือนจำ 207 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 11 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 270,921 ราย หายป่วยเพิ่มเติม 3,638 ราย หายป่วยสะสม 214,340 ราย อยู่ระหว่างรักษา 54,440 ราย อาการหนัก 2,002 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 579 ราย เสียชีวิตเพิ่มเติม 61 ราย เป็นชาย 29 ราย หญิง 32 ราย อยู่ใน กทม. 28 ราย นนทบุรี 9 ราย สมุทรปราการ 8 ราย ปัตตานี 5 ราย ปทุมธานี นราธิวาส จังหวัดละ 3 ราย เชียงราย สงขลา นครปฐม นครนายก พระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ 1 ราย ในจำนวนนี้มี 5 ราย ที่เสียชีวิตที่บ้าน โดยเป็นผู้สูงอายุ 3 ราย และแรงงานเมียนมา 2 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,141 ราย ส่วนความคืบหน้าการฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 1 ก.ค. มีการฉีดไป 299,485 โดส ข้อมูลผู้ได้รับวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 10,227,183 โดส โดยยังไม่ได้รวมข้อมูลของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ขณะที่สถานการณ์โลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 183,414,645 ราย เสียชีวิตสะสม 3,971,442 ราย
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดในวันที่ 2 ก.ค. ได้แก่ กทม. 2,267 ราย สมุทรปราการ 522 ราย นนทบุรี 327 ราย สมุทรสาคร 289 ราย ปทุมธานี 284 ราย ชลบุรี 222 ราย ยะลา 201 ราย ปัตตานี 169 ราย สงขลา 167 ราย นราธิวาส 124 ราย ขณะที่วันเดียวกันมีเพียง 3 จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่คือ พังงา ลำพูน แม่ฮ่องสอน ทั้งนี้ พบคลัสเตอร์ในต่างจังหวัดหลายแห่ง ประกอบด้วย จ.สมุทรปราการ ที่โรงงานเฟอร์นิเจอร์ อ.เมือง พบผู้ติดเชื้อ 21 ราย จ.นนทบุรี ที่ตลาดเทศบาล อ.ปากเกร็ด พบผู้ติดเชื้อ 43 ราย ที่ตลาดพิชัย อ.ปากเกร็ด พบผู้ติดเชื้อ 75 ราย จ.สมุทรสาคร ที่บริษัทผลิตภัณฑ์พลาสติก อ.เมือง พบผู้ติดเชื้อ 12 ราย ที่โรงงานลูกชิ้น อ.กระทุ่มแบน พบผู้ติดเชื้อ 11 ราย จ.สุราษฎร์ธานี ที่แคมป์คนงาน อ.พุนพิน พบผู้ติดเชื้อ 11 ราย จ.ขอนแก่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ.สีชมพู พบผู้ติดเชื้อ 45 ราย ขณะที่พื้นที่ กทม. มีคลัสเตอร์เฝ้าระวัง 113 แห่ง โดยพบคลัสเตอร์ใหม่ 2 แห่ง ที่แคมป์คนงาน ถนนสุขุมวิท 50 พบผู้ติดเชื้อ 43 ราย และที่โรงงานแห่งหนึ่งในเขตหนองแขม พบผู้ติดเชื้อ 70 ราย
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กมีความเป็นห่วงเรื่องตัวเลขผู้ติดเชื้อใน กทม. ที่มีสัดส่วนมากกว่าผู้หายป่วยกลับบ้าน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องผู้ป่วยที่ต้องใช้เวลารอเตียง จึงสั่งการให้ ศบค. กระทรวงสาธารณสุข และกทม.ไปหารือเรื่องการจัดการเตียงอย่างเร่งด่วน เพื่อศักยภาพการจัดการเตียง จะเร่งรัดออกมาตรการแยกกักตัวในชุมชนหลังทราบผลและระหว่างรอจัดสรรเตียง โดยบ่ายวันที่ 2 ก.ค.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินการดังกล่าว นอกจากนี้ ในที่ประชุมอีโอซี กระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้พูดถึงแนวทางการเพิ่มเตียงทุกระดับสี ซึ่งโรงพยาบาลบุษราคัมสามารถดำเนินการได้ทันที และขณะนี้ได้มีการปฐมนิเทศแพทย์ที่ผ่านการอบรมผู้เชี่ยวชาญ 144 คน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรแพทย์ ระบบทางเดินหายใจบำบัดวิกฤติ ภายใน 1-2 วันนี้จะรกระจายไปประจำโรงพยาบาลต่างๆ ในกทม. อย่างไรก็ตาม ที่เห็นตัวเลขผู้เสียชีวิตจำนวนมากในปัจจุบันมาจากการติดเชื้อเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ส่วนกรณีที่เราปูพรมฉีดวัคซีนวันที่ 7 มิ.ย. อาจจะต้องรอผลอีก 1-2 เดือนจึงจะเห็นว่าหลังฉีดวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะหลังฉีด 2 สัปดาห์มีแนวโน้มทำให้ภาพรวมของประเทศ อัตราการป่วยหนัก หรืออัตราการเสียชีวิตลดลง
2 ก.ค.64 – เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6,087 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 5,869 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 3,905 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 1,964 ราย มาจากเรือนจำ 207 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 11 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 270,921 ราย หายป่วยเพิ่มเติม 3,638 ราย หายป่วยสะสม 214,340 ราย อยู่ระหว่างรักษา 54,440 ราย อาการหนัก 2,002 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 579 ราย เสียชีวิตเพิ่มเติม 61 ราย เป็นชาย 29 ราย หญิง 32 ราย อยู่ใน กทม. 28 ราย นนทบุรี 9 ราย สมุทรปราการ 8 ราย ปัตตานี 5 ราย ปทุมธานี นราธิวาส จังหวัดละ 3 ราย เชียงราย สงขลา นครปฐม นครนายก พระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ 1 ราย ในจำนวนนี้มี 5 ราย ที่เสียชีวิตที่บ้าน โดยเป็นผู้สูงอายุ 3 ราย และแรงงานเมียนมา 2 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 2,141 ราย ส่วนความคืบหน้าการฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 1 ก.ค. มีการฉีดไป 299,485 โดส ข้อมูลผู้ได้รับวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ. 10,227,183 โดส โดยยังไม่ได้รวมข้อมูลของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ขณะที่สถานการณ์โลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 183,414,645 ราย เสียชีวิตสะสม 3,971,442 ราย
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดในวันที่ 2 ก.ค. ได้แก่ กทม. 2,267 ราย สมุทรปราการ 522 ราย นนทบุรี 327 ราย สมุทรสาคร 289 ราย ปทุมธานี 284 ราย ชลบุรี 222 ราย ยะลา 201 ราย ปัตตานี 169 ราย สงขลา 167 ราย นราธิวาส 124 ราย ขณะที่วันเดียวกันมีเพียง 3 จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่คือ พังงา ลำพูน แม่ฮ่องสอน ทั้งนี้ พบคลัสเตอร์ในต่างจังหวัดหลายแห่ง ประกอบด้วย จ.สมุทรปราการ ที่โรงงานเฟอร์นิเจอร์ อ.เมือง พบผู้ติดเชื้อ 21 ราย จ.นนทบุรี ที่ตลาดเทศบาล อ.ปากเกร็ด พบผู้ติดเชื้อ 43 ราย ที่ตลาดพิชัย อ.ปากเกร็ด พบผู้ติดเชื้อ 75 ราย จ.สมุทรสาคร ที่บริษัทผลิตภัณฑ์พลาสติก อ.เมือง พบผู้ติดเชื้อ 12 ราย ที่โรงงานลูกชิ้น อ.กระทุ่มแบน พบผู้ติดเชื้อ 11 ราย จ.สุราษฎร์ธานี ที่แคมป์คนงาน อ.พุนพิน พบผู้ติดเชื้อ 11 ราย จ.ขอนแก่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ.สีชมพู พบผู้ติดเชื้อ 45 ราย ขณะที่พื้นที่ กทม. มีคลัสเตอร์เฝ้าระวัง 113 แห่ง โดยพบคลัสเตอร์ใหม่ 2 แห่ง ที่แคมป์คนงาน ถนนสุขุมวิท 50 พบผู้ติดเชื้อ 43 ราย และที่โรงงานแห่งหนึ่งในเขตหนองแขม พบผู้ติดเชื้อ 70 ราย
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กมีความเป็นห่วงเรื่องตัวเลขผู้ติดเชื้อใน กทม. ที่มีสัดส่วนมากกว่าผู้หายป่วยกลับบ้าน ขณะที่นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงเรื่องผู้ป่วยที่ต้องใช้เวลารอเตียง จึงสั่งการให้ ศบค. กระทรวงสาธารณสุข และกทม.ไปหารือเรื่องการจัดการเตียงอย่างเร่งด่วน เพื่อศักยภาพการจัดการเตียง จะเร่งรัดออกมาตรการแยกกักตัวในชุมชนหลังทราบผลและระหว่างรอจัดสรรเตียง โดยบ่ายวันที่ 2 ก.ค.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินการดังกล่าว นอกจากนี้ ในที่ประชุมอีโอซี กระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้พูดถึงแนวทางการเพิ่มเตียงทุกระดับสี ซึ่งโรงพยาบาลบุษราคัมสามารถดำเนินการได้ทันที และขณะนี้ได้มีการปฐมนิเทศแพทย์ที่ผ่านการอบรมผู้เชี่ยวชาญ 144 คน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรแพทย์ ระบบทางเดินหายใจบำบัดวิกฤติ ภายใน 1-2 วันนี้จะรกระจายไปประจำโรงพยาบาลต่างๆ ในกทม. อย่างไรก็ตาม ที่เห็นตัวเลขผู้เสียชีวิตจำนวนมากในปัจจุบันมาจากการติดเชื้อเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ส่วนกรณีที่เราปูพรมฉีดวัคซีนวันที่ 7 มิ.ย. อาจจะต้องรอผลอีก 1-2 เดือนจึงจะเห็นว่าหลังฉีดวัคซีนจะมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะหลังฉีด 2 สัปดาห์มีแนวโน้มทำให้ภาพรวมของประเทศ อัตราการป่วยหนัก หรืออัตราการเสียชีวิตลดลง